วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ลูกเก่ง ดี พ่อแม่สร้างได้


เล่านิทาน-อ่านให้ลูกฟัง พ่อแม่ทำได้


ฉบับนี้ครูเอขอแบ่งปันข้อมูล ความรู้ที่ได้จากการไปอบรมมาเมื่อวันที่ 16-17 มิถุนายน 2555 ในโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเล่านิทาน อ่านและเล่นกับลูก รุ่นที่ 2 เรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการหนังสือหรือเล่านิทานให้ฟังและการเล่นกับลูก มาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

การหนังสือหรือเล่านิทานให้ฟัง  การอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่วัยเด็กสามารถช่วยส่งเสริมให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน ช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานและช่วยกระตุ้นทักษะการอ่านทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาที่รวดเร็ว มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ด้วย 

พยายามหาเวลาว่างทุกวันเพื่ออ่านหนังสือให้ลูกฟัง เหมือนว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ลูกจะได้มีส่วนร่วมกับคนในครอบครัว และอย่ากังวลหากลูกจะมีความสนใจเพียงระยะสั้น ลองให้เขาจับหนังสือ เปิดดูหน้าต่างๆ  ด้วยตัวเอง ให้ลูกรู้สึกถึงเรื่องราว สี และรูปทรง ในหนังสือ นอกจากอ่านหนังสือแล้ว ควรพูดคุยกับลูกทุกๆ วันเพื่อเพิ่มปริมาณคำศัพท์ใหม่ๆ ในคลังสมองของลูก   
        
นิทานสำหรับเด็ก ภาพและหนังสือที่ปรากฏบนหนังสือนิทาน คือ โลกของภาษา การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง จึงมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาของเด็ก เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็กมีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนานถ้าได้หนังสือที่ชอบและอยากอ่าน

นิทานสำหรับเด็กควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่า ความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูกด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย เป็นการสร้างความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และลูกระหว่างการเล่านิทานด้วย

การเล่านิทานเพียง 5 – 10 นาที ต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อลูกและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล ลูกจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิ ให้เด็กรู้จักสำรวจ ให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อมด้านการอ่านหนังสือและปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมๆกัน

การเล่นกับลูก  สมองของคนเรามีอยู่ 2 ซีก  ซีกขวา และซีกซ้าย  ซีกขวาจะควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้าย และสมองซีกซ้ายจะควบคุมการทำงานของร่ายการซีกขวา  สมองทางซีกซ้ายเป็นส่วนที่ควบคุมการคิด และมีการทำงานที่ออกมาเป็นนามธรรม เช่น การนับจำนวนเลขการบอกเวลาการสรรหาถ้อยคำการหาเหตุผล  เป็นต้น  

ส่วนสมองซีกขวาจะทำหน้าที่จินตนาการฝันสร้างสรรค์ความคิดใหม่การซึมซาบในดนตรีและศิลปะ เป็นต้น  ดังนั้นการที่คนเราสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้นั้น  เกิดจากการทำงานของสมองซีกขวานี้เอง เมื่อสมองซีกขวาทำงาน สมองซีกซ้ายจะรับหน้าที่แสดงผลการทำงานออกมาให้คนอื่นเห็น

เด็กในช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นวัยแห่งการคิดฝันจินตนาการ  เด็กในวัยนี้ควรจะได้รับการกระตุ้น โดยการส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ความคิดจินตนาการของเด็กเองโดยการพัฒนาสมองทั้ง 2 ซีกไปพร้อมกันและเท่าเทียมกัน  

การเล่นต่างๆ ที่สมวัยก็สามารถส่งเสริมการพัฒนาทางสมองซีกซ้ายของเด็กในวัยแรกเกิดจนถึง 6 ปีได้  โดยการเล่นของเล่นหรือหากิจกรรมต่างๆ มาเล่นกับลูก เพราะการเล่นมีความสำคัญ สำหรับเด็กทุกคน ทุกวัย ลูกจะเรียนรู้ได้มากจากการเล่น จะสนุกสนาน กับการค้นพบสิ่งใหม่ๆ จากการเล่น กับคนที่เขาเล่นด้วย ได้แสดงออก ได้เล่น เลียนแบบท่าทาง โดยเน้นที่ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน 

อย่าทำให้ลูกมีความรู้สึกเหมือนถูกบังคับ  รวมทั้งพ่อแม่จำเป็นต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกของตน โดยทำตัวให้เหมือนกับที่ตนได้สั่งสอนลูก  

เด็กจะสามารถพัฒนาความสามารถทางสมองของเขาเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและจะกลายเป็นเด็กที่มีความมั่นคงทางจิตใจ มีความมั่นคงในตนเองมีเหตุมีผลในเรื่องต่างๆและที่สำคัญเด็กจะเป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพราะการเล่นมีความสำคัญ สำหรับเด็กทุกคน ทุกวัย ลูกจะเรียนรู้ได้มาก จากการเล่น จะสนุกสนาน กับการค้นพบสิ่งใหม่ๆ จากการเล่น กับคนที่เขาเล่นด้วย ได้แสดงออก ได้เล่น เลียนแบบท่าทาง

เทคนิคการเล่านิทาน เป็นเคล็ดลับอีกประการหนึ่งที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ประสบผลสำเร็จในการส่งเสริมพัฒนาการ ทักษะกระบวนการเรียนรู้ สติปัญญา จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ของลูก รวมถึงการปลูกฝังข้อคิดคุณธรรมในจิตใจของลูกได้เป็นอย่างดีด้วย  เช่น

4  การเล่าปากเปล่า          ;           ซึ่งเน้นการใช้น้ำเสียงหนัก – เบา  อย่าตะโกน/ไม่ใช้คำหยาบ
4  การเล่าไปเล่นไป          ;           เป็นการเล่าที่ควบคู่กับการเล่น
4  การเล่าไปวาดไป         ;           เป็นการเล่าที่ประกอบการวาด
4  การเล่าไปฉีกไป           ;           เป็นการเล่าที่ประกอบกับการฉีกกระดาษอย่างสร้างสรรค์
4  เล่าไปให้อุปกรณ์ไป    ;           เป็นการเล่าที่มีอุปกรณ์มาประกอบเพื่อดึงความสนใจ
4  เล่าเรื่องที่ลูกสนใจ       ;           เป็นการเล่าที่เน้นในสิ่งที่ลูกสนใจ เช่น การเล่าเรื่องสัตว์ เป็นต้น
4  การเล่าอย่างมีชีวิตชีวา ;          เป็นการเล่าที่เน้นวิธีการเล่าที่สร้างให้ลูกสนใจและตื่นตัวในการฟัง
4  นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ;       เพราะในนิทานมีการสอนในหลานกหลายแง่มุม ขึ้นอยู่กับมุมมอง/หลายแง่คิด