วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ข้อสรุปที่สำคัญเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย

ข้อสรุปที่สำคัญ (ความรู้จากอินเตอร์เน็ต)

  1. การเล่นของเด็กปฐมวัย
    · การเล่นสามารถทำให้เด็กใช้สัญลักษณ์แทนความรู้สึกต่อโลกของเขาในรูปแบบที่หลากหลาย
    · การเล่นส่งเสริมการคิดให้รู้จักคิดยืดหยุ่น และคิดสร้างสรรค์
    · การเล่นช่วยให้เด็กสร้างความรู้จากเรื่องราวต่างๆ ที่กำลังดำเนินอยู่ในชีวิต
    · การเล่นสนับสนุนความสามารถทางภาษาและสังคม
    · การเล่นช่วยให้เด็กมีปฏิบัติการได้เหนือระดับปกติ เพราะไม่มีกรอบแห่งความเป็นจริงมาบังคับกระบวนการการเรียนรู้ เด็กสามารถจะนำความรู้ทั้งหมดมาจินตนาการเพิ่มเติม ตัดต่อจนเป็นความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ และแสดงออกมาในการเล่นได้
    · ขณะเล่น สมองเรียนรู้โดยใช้อารมณ์อันพึงพอใจเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนั้น การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในสมองผ่านการเล่น จึงเป็นการรู้ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นวงจรที่มีพลัง

    กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
    · เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากสัมพันธภาพของเขากับครอบครัว ถัดไปคือ เพื่อนบ้าน โรงเรียน และสังคม
    · เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว และด้วยกระบวนการอันซับซ้อน
    · เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากความรู้สึกผูกพันแบบตัวต่อตัวก่อน แล้วเคลื่อนไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันภายหลัง
    · การเรียนรู้ถูกกระตุ้นโดยความอยากรู้อยากเห็น จินตนาการ และการสร้างสรรค์
    · การเรียนรู้มาจากสถานการณ์ที่เป็นจริง ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ได้เริ่มต้นจากนามธรรม คำศัพท์ หรือนิยาม
    · ผลจากการเรียนรู้ของสมอง เด็กแต่ละคนปรากฏตัวออกมาไม่เหมือนกัน แล้วแต่ความสนใจว่าเด็กจะแสดงความรู้ออกมาผ่านพฤติกรรมแบบไหน
    · เด็กเรียนรู้ผ่านกิจกรรมทางร่างกาย และพัฒนาสมรรถภาพได้หลากหลาย ซับซ้อน
    · เด็กชอบที่จะเรียนรู้จากการทำซ้ำๆ และเพลิดเพลินจากการทำซ้ำๆ ขณะเดียวกันสมองจะจัดการรวบรวมทักษะต่างๆ เข้าด้วยกัน กลายเป็นองค์รวมแห่งพัฒนาการ
    · เด็กสืบค้นและสำรวจสิ่งรอบตัวของเขาผ่านการเล่น ด้วยเหตุนี้สภาพแวดล้อมจึงมีบทบาทสำคัญ

2. พัฒนาการแห่งการเรียนรู้
· การวางเป้าหมายของหลักสูตรเกิดจากหลักการต่างๆ ดังกล่าวมาข้างต้นเป็นพื้นฐาน ถัดไปคือโลกและสังคมแห่งการเรียนรู้อันจำเป็นที่ต้องถักทอขึ้นมา เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย โดยแยกออกเป็นพัฒนาการด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
· พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว
· พัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจ
· พัฒนาการด้านการคิด
· พัฒนาการด้านศิลปะและการสร้างสรรค์
· พัฒนาการด้านภาษา


3. เป้าหมายแห่งพัฒนาการ
· ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี
· พัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่และเล็กแข็งแรงดี ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

· พัฒนาการทางอารมณ์เหมาะกับวัย มีสุขภาพจิตดี รู้เหมาะรู้ควรตามวัย
· มีความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ใช้ภาษาแม่ได้อย่างดี และเริ่มใช้ภาษาอังกฤษในการฟัง พูดอ่าน เขียนได้อย่างง่ายๆ ได้
· มีสุนทรียภาพ ชื่นชมต่อศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และการออกกำลังกาย
· ช่วยเหลือตนเองได้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
· มีความใส่ใจในธรรมชาติ รู้จักใช้ความคิดและมีนิสัยใฝ่หาคำตอบ
· รู้จักและดำเนินชีวิตอย่างมีวัฒนธรรมเหมาะสมกับวัย
· มีพัฒนาการด้านการคิด ใช้เหตุผล แก้ปัญหาได้ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มีคุณธรรม และจิตใจดีงาม
· มีความกระหายใคร่รู้ รักการเรียนรู้

1 ความคิดเห็น:

Suchart Chantrawong, Ph.D. กล่าวว่า...

สวัสดีอาจารย์ ผมขอนุญาตนำบล็อกไว้รวบรวมไว้ในรวมพลคนเขียนบล็อก(ราชบุรี) ณ ครับ(http://rb-people.blogspot.com) การเขียนบล็อกต้องใส่หัวข้อเรื่องด้วยไม่อย่างนั้น พอ Feed แล้วมันจะไม่เห็น..อาจารย์สามารถเข้าไปเยี่ยมงานวิจัยผมได้ครับ ลองดูที่ ราชบุรีศึกษา (http://km-rb.blogspot.com) แล้วเชิญอาจารย์เป็นผู้เขียนล็อกด้วยนะครับ..ส่งอีเมล์ไปแล้ว ไม่รู้อาจารย์เปิดหรือยัง