การส่งเสริมให้ลูกมีพฤติกรรมรักการอ่านตั้งแต่ยังเด็ก สามารถช่วยให้ลูกกลายเป็นนักอ่านและรักการอ่านในอนาคตได้ค่ะ
น้ำเสียงที่คุณแม่เล่าและเรื่องราวจากหนังสือหรือนิทานนั้นๆ จะช่วยให้ลูกได้ฝึกทักษะการจำ โดยพวกเขาจะจำสิ่งต่างๆ ในหนังสือ และให้ความสนใจในเสียงต่างๆ ในโลกภายนอกว่าเป็นเหมือนนิทานที่คุณอ่านให้ฟังหรือไม่ค่ะ
นอกจากนี้ เด็กๆยังอยากใกล้ชิดกับคุณพ่อคุณแม่เวลาฟังนิทานด้วย เด็กวัยนี้จะมีความรู้สึก 2 แบบ โดยพวกเขาจะให้ความใส่ใจในหนังสือที่ถูกอ่านโดยผู้ใหญ่ที่ให้ความสนใจเขา แต่อีกไม่นาน พวกเขาจะเริ่มให้ความสนใจในหนังสือด้วยตัวเขาเอง และจะขอให้คุณพ่อคุณแม่อ่านให้พวกเขาฟังหรืออาจจะลองอ่านให้ของเล่น เช่น ตุ๊กตาหรือหุ่นยนต์ของพวกเขาฟัง
แม้ว่าพวกเด็กๆอาจจะใช้ภาษาแบบเด็กๆ หรือทำท่าทางเลียนแบบเหมือนตอนที่คุณแม่เล่าให้ฟัง แต่เขาก็เชื่อว่านั่นคือ “การอ่าน” นั่นเอง คุณแม่อาจช่วยลูกด้านการอ่านออกเสียงตัวอักษรและคำต่างๆ เพื่อให้เขาฝึกออกเสียงไปในตัว จากการวิจัยพบว่า ลูกจะเรียนรู้การอ่านตามธรรมชาติของเขาจากสิ่งที่คุณแม่หรือคุณพ่อเล่าหรืออ่านให้ฟัง
คำถามที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ว่าสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาทักษะการอ่านให้ลูกได้อย่างไรบ้าง เรามีข้อเสนอให้ลองพิจารณาค่ะ
ประการแรก แบ่งหนังสือกับลูก การอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่วัยเด็กสามารถช่วยส่งเสริมทักษะการอ่านและการรับรู้ที่พวกเขาต้องการได้ พยายามหาเวลาว่างทุกวันเพื่ออ่านหนังสือให้ลูกฟัง เหมือนว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ลูกจะได้มีส่วนร่วมกับคนในครอบครัว และอย่ากังวลหากลูกจะมีความสนใจเพียงระยะสั้น ลองให้เขาจับหนังสือ เปิดดูหน้าต่างๆ ด้วยตัวเอง ให้ลูกรู้สึกถึงเรื่องราว สี และรูปทรง ในหนังสือ ซึ่งสิ่งที่เขาสนใจจะบอกคุณได้ว่าครั้งต่อไปคุณควรเล่าหรือเรียกความสนใจจากเขาได้ด้วยสิ่งใดบ้าง
ประการที่สอง หนังสือภาพ เลือกหนังสือที่มีภาพประกอบ หรือเป็นหนังสือที่มีรูปทรงต่างๆ เมื่อเปิดมาในแต่ละหน้าเป็นแบบป๊อบอัพ สำหรับลูกวัย 3-5 ปี จะช่วยเรียกความสนใจในการเล่าเรื่องได้มากขึ้น และพยายามไม่พูดเกริ่นนำเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในภาพเหล่านั้น แต่ทำให้ลูกรู้สึกจดจ่อว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อ หลังจากเรื่องราวในภาพเพื่อให้ลูกคิดตาม
นอกจากนี้ ลองพูดถึงตัวละครต่างๆ ในหนังสือ และสร้างสถานการณ์ว่าสิ่งต่างๆ หรือบุคคลในหนังสือนั้น มีความเกี่ยวข้องกับเราในชีวิตจริงได้อย่างไรบ้าง การเล่าเรื่องแบบมีที่มาที่ไปและใส่ความคิดเห็น เพิ่มเติมเพื่อให้ลูกเห็นภาพมากขึ้น จะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานความเข้าใจและช่วยกระตุ้นทักษะการอ่าน จินตนาการ การทำความเข้าใจ รวมถึงภาษาที่ใช้ด้วย
ประการที่ สาม การพูดคุยกับลูกๆ การฟัง ดู พูด อ่าน เขียน ถือเป็นสะพานหลักในการเชื่อมต่อทักษะการอ่านของเด็กทุกวัย ก่อนที่เด็กจะอ่านหนังสือได้ด้วยตัวเอง พวกเขาต้องรู้จักการออกเสียง คำต่างๆ ความหมายต่างๆ รวมถึงความสัมพันธ์ของภาษาก่อน ยิ่งรู้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งง่ายขึ้นต่อการเชื่อมโยงความรู้ในการใช้ภาษาพูดให้เข้ากับภาษาเขียนมากขึ้นเท่านั้น การพูด ไม่ได้ต้องการเวลาพิเศษหรืออุปกรณ์ใดๆ ทำให้คุณสามารถเสริมสร้างทักษะนี้ให้กับลูกได้ทุกที่และทุกเวลาค่ะ
ประการที่ สาม การพูดคุยกับลูกๆ การฟัง ดู พูด อ่าน เขียน ถือเป็นสะพานหลักในการเชื่อมต่อทักษะการอ่านของเด็กทุกวัย ก่อนที่เด็กจะอ่านหนังสือได้ด้วยตัวเอง พวกเขาต้องรู้จักการออกเสียง คำต่างๆ ความหมายต่างๆ รวมถึงความสัมพันธ์ของภาษาก่อน ยิ่งรู้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งง่ายขึ้นต่อการเชื่อมโยงความรู้ในการใช้ภาษาพูดให้เข้ากับภาษาเขียนมากขึ้นเท่านั้น การพูด ไม่ได้ต้องการเวลาพิเศษหรืออุปกรณ์ใดๆ ทำให้คุณสามารถเสริมสร้างทักษะนี้ให้กับลูกได้ทุกที่และทุกเวลาค่ะ
นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจลองสอนวิธีอ่านหนังสือที่หลากหลายด้วยวิธีการที่แตกต่าง เช่น เล่นเกมส์หาหนังสือ กิจกรรมแต่งกายตามตัวละครในหนังสือ ทำอาหารที่ตัวละครในหนังสือชอบ หรือแม้กระทั่งการวาดภาพตามสถานการณ์ เป็นต้นจังหวะและคำคล้องจองในบทกวีที่คุณแม่อ่านให้ฟังทุกๆ บ้าน ควรจะมีหนังสือบทกลอนสำหรับเด็กดีๆ ไว้สักเล่ม อาจจะเป็นบทกลอน บทเพลง บทกวี ที่ลูกๆ สามารถอ่าน เล่น และร่วมสนุกกับคุณพ่อคุณแม่ได้ จะช่วยพัฒนาคลังภาษาในสมอง อารมณ์และจินตนาการของเด็กได้มากทีเดียว
สังเกตได้ว่าเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป จะเริ่มออกเสียง และแสดงท่าทางที่สอดคล้องกับเสียง และคำคล้องจองในบทกวีที่คุณพ่อคุณแม่เล่าให้ฟังค่ะ